- Waterhouse et al. (2001) ศึกษาบทบาทของการงีบหลับกลางวัน ต่อการเพิ่มความจำของระบบประสาท และประสิทธิภาพการวิ่งระยะสั้นในกลุ่มผู้ที่มีภาวะอดนอนระดับปานกลางปานกลาง โดยให้กลุ่มตัวอย่างนอนในเวลา 23.00 – 03.00 น. และให้งีบกลางวัน 30 นาที ในช่วงเวลา 13.00 – 13.30 น. ผลการวิจัยพบว่า การงีบหลับกลางวันสามารถเพิ่มความตื่นตัว สมรรถภาพทางจิตใจ และประสิทธิภาพในการวิ่งระยะสั้นในภาวะอดนอนระดับปานกลาง
- James (2006) ศึกษาผลของการงีบหลับและบริโภคกาแฟ เพื่อจัดการภาวะนอนน้อยระหว่างคืนที่ต้องการมีการควบเวร ผลการวิจัยพบว่า ท้ังการงับหลับ และบริโภคกาแฟ สามารถเพิ่มในเรื่องของการตื่นตัว และประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงานเวรกลางคืน และการประยุกต์รวมทั้งการงีบหลับเข้ากับการดื่มกาแฟ ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เป็นการเพิ่มความตื่นตัวและประสิทธิภาพร่างกายของคนที่ทำงานเวรกลางคืนเป็นความสามารถที่ท้าทาย แม้ว่าจะมีการนอนกลางวันที่เพียงพอ " การงีบหลับก่อนที่จะทำงานร่วมกับการดื่มกาแฟในขณะที่มีการทำงาน เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการคงไว้ซึ่งความตื่นตัวให้คงอยู่สำหรับคนที่ต้องการทำงานในเวรกลางคืน "
ประโยชน์ของการนอนกลางวัน
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
งานวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับกลางวัน⏳🔍
เคล็ดลับนอนกลางวัน เวลาไหน นานเท่าไหร่ ถึงมีประสิทธิภาพสูงสุด😁💤
เคล็ดลับนอนกลางวัน
1. ช่วงเวลาที่ควรนอนกลางวัน ควรงีบหลับในช่วงเวลา 13.00-15.00 นาฬิกา หรือก็คือเวลาบ่ายโมง ถึงบ่าย 3 โมง เนื่องในช่วงขณะนั้น เป็นช่วงเวลาที่ระดับพลังงานในร่างกายของเราอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ หรือต่ำที่สุดเลยก็ว่าได้ และเป็นช่วงเวลาที่ระดับของฮอร์โมนเมลาโทนีนนั้นเพิ่มสูงสุด จึงทำให้เรามีความรู้สึกว่าร่างกายไม่สดชื่น หรือมีการตื่นตัวค่อนข้างน้อย ฉะนั้นช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การงีบหรือการนอนหลับพักผ่อนมากที่สุด
2. ควรที่จะหลีกเลี่ยงการงีบหลับก่อนช่วงเวลาที่เราจะเข้านอน หรือเวลาก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง เพราะการนอนหลับในช่วงนี้ อาจจะส่งผลต่อการรบกวนการนอนหลับในช่วงเวลาตอนกลางคืนได้ ฉะนั้นหากเราไม่ได้งีบหลับในช่วงเวลากลางวันเราก็ไม่ควรที่งีบหลับในช่วงตอนเย็น ซึ่งหากเป็นไปได้ให้เราพยายามฝืน หรือหากิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกหายง่วง
3. ระยะเวลาในการนอน ควรจะใช้เวลาในการงีบหลับไม่เกิน 30 นาที และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดแก่การงีบเพื่อให้การงีบหลับให้มีประสิทธิภาพูดสูงที่สุดก็จะอยู่ที่เวลาประมาณ 15-20 นาที เพราะถ้าหากเรางีบหลับนานเกินกว่านั้น จะทำให้การงีบหลับของเรากลายเป็นการนอนหลับ หรือหลับลึกได้ในที่สุด และหากเรางีบหลับนานเกินไป ก็จะทำให้เรามีความรู้สึกง่วง เหนื่อย เพลีย ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้ยังทำให้ความสดชื่นของเราลดลงไปยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย
4. ควรที่จะตั้งนาฬิกาปลุกในขณะที่เราต้องการจะงีบหลับ เพื่อให้เราตื่นได้ทัน และยังสามารถคลายความกังวลที่ว่า เราจะนอนหลับนานเกินไป หรือกลัวว่าจะตื่นไม่ทัน ซึ่งเป็นสาเหตุรบกวนการงีบหลับของเรา ทำให้เรางีบหลับไม่สนิทได้ ฉะนั้นก่อนที่เราจะงีบหลับ ก็ควรตั้งนาฒิกาปลุกไว้ประมาณ 20 นาที หรือไม่เกิน 30 นาที
5. ควรที่จะเลือกหรือสร้างสภาพแวดลอมที่เหมาะกับการงีบหลับ อย่างการงีบหลับในที่ที่ไม่มีแสงหรือทำการปิดไฟ ปิดม่าน ใส่หน้ากากปิดตาในขณะที่งีบ และหากเราสามารถทำได้ก็จะมีผลช่วยให้เราสามารถงีบหลับได้เร็วและนอนหลับสนิทมากขึ้น
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
7 ประโยชน์ การนอนกลางวัน
ประโยชน์ข้อแรกของการนอนกลางวัน🔺⟲
1. ลดความเครียด ช่วยให้สมองสดใส คิดงานง่ายขึ้น
2. เรียกพลังให้สมองตื่นตัวมากขึ้น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. พักผ่อนได้ทั้งสมอง ร่างกาย และหัวใจ ไม่ให้ทำงานเหนื่อยจนเกินไป
4. เพิ่มความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เช่น ทำงานต่อไป ออกกำลังกาย
5. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
6. เพิ่มความไวต่อการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
7.เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของสมอง ถ้าไปประชุมทั้งๆ ที่ยังง่วง รับรองว่าออกมาลืมหมดแน่นอน
2. เรียกพลังให้สมองตื่นตัวมากขึ้น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. พักผ่อนได้ทั้งสมอง ร่างกาย และหัวใจ ไม่ให้ทำงานเหนื่อยจนเกินไป
4. เพิ่มความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เช่น ทำงานต่อไป ออกกำลังกาย
5. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
6. เพิ่มความไวต่อการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
7.เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของสมอง ถ้าไปประชุมทั้งๆ ที่ยังง่วง รับรองว่าออกมาลืมหมดแน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
งานวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับกลางวัน ⏳ 🔍 Waterhouse et al. (2001) ศึกษาบทบาทของการงีบหลับกลางวัน ต่อการเพิ่มความจำของระบบประสาท และประสิทธ...
-
ประโยชน์ข้อแรกของการนอนกลางวัน🔺⟲ 1. ลดความเครียด ช่วยให้สมองสดใส คิดงานง่ายขึ้น 2. เรียกพลังให้สมองตื่นตัวมากขึ้น ...
-
งานวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับกลางวัน ⏳ 🔍 Waterhouse et al. (2001) ศึกษาบทบาทของการงีบหลับกลางวัน ต่อการเพิ่มความจำของระบบประสาท และประสิทธ...